วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

1.ข้อมูลและสารสนเทศ

   1.ข้อมูล (Data)
      ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
   
   2.สารสนเทศ (Information)
       สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลปล้ว ซึ่งถูกต้องแม่นยำ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้

   3.ลักษณะของข้อมูลที่ดี
       -มีความถูกต้อง และแม่นยำ
       -มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
       -ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
       -ความสอดคล้องของข้อมูล
    
   4.ชนิดและลักษณะของข้อมูล
      oข้อมูลเป็นตัวเลข (Numeric Data) คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ 
         -เลขจำนวนเต็ม
         -เลขทศนิยม
      oข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวนได้

   5.ประเภทของข้อมูล
      oข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง
      oข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว เป็นข้อมูลสารสนเทศที่นำมาใช้อ้างอิงได้

2.กระบวนการการจัดการสารสนเทศ 

   1.การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
      oการรวบรวม เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
      oการตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ซึ่งหากพบความผิดพลาดก็จะต้องแก้ไข

   2.การประมวลผลข้อมูล
      oการจัดกลุ่ม ข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้ใช้งานต่อไป
      oการจัดเรียงข้อมูล ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรือตัวอักขระ เพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
      oการสรุปผลข้อมูล ควรสรุปผลข้อมูลให้กระชับ และได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์

   3.การจัดเก็บข้อมูลและดูแลรักษา
      oการจัดเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
      oการทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย 

   4.การแสดงผลข้อมูล
      oการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
      oการปรับปรุงข้อมูล ควรมีการติดตามผลตอบกลับ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ปละควรจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการใช้งาน



3.ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

   1.ระบบเลขฐานสอง
      การจัดเก็บข้อมูลหรืแการสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลนศูนย์ (0) และเลขหนึ่ง (1) โดยแต่ละหลักเรียกว่า "บิต" (Binary Digit: Bit) จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวนอักขระ สัญลักษณ์ 
   
   2.รหัสแทนข้อมูล
      เพื่อให้แลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน
         oรหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange: ASCII) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์


         oรหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต ใช้แทนอักษรภาษาจัน ญี่ปุ่น และแทนสัญญลักษณ์กราฟิก และสัญญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์


   3.การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
      oบิต (Bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
      oตัวอักขระ (Character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร  หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระ แต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล
      oเขตข้อมูล (Field) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระที่เรียงต่อกัน เพื่อนแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
      oระเบียนข้อมูล (Record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
      oแฟ้มข้อมูล (File) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ระเบียนข้อมูลขึ้นไป
      oฐานข้อมูล (Database) คือ เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กัน



4.จริยธรรมในการใช้ข้อมูล

   1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
      ก่อนจะเผยแพร่ข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง หากข้อมูลนี้ถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนแก่เจ้าของข้อมูลได้

   2.ความถูกต้อง (Accuracy)
      ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องข้องข้อมูลนั้นก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิดก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้ ทำให้เสียเวลา

   3.ความเป็นเจ้าของ (Property)
      การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน

   4.การเข้าถึงข้อมูล (Accessibility)
      การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล 



คำถามท้ายบท
   รหัสแอสกี และรหัสยูนิโค้ด ใช้รหัสเลขฐานสองจำนวนกี่บิต และใช้แสดงข้อมูลประเภทใด

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.ความหมายของเทศโนโลยีสารสนเทศ

   เทศโนโลยี (Technology)
      การนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้

   สารสนเทศ (Information)
      ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ

   การสื่อสาร (Communication)
      การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาสัยสื่อตัวกลาง จากบุคคล หรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองให้เป็นไปตามผผู้ส่งสารต้องการ

   เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)
      การนำความรู้ หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลสาระสนเทศอย่างเป็นระบบ


   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT)
      การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่  และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ


2.ระบบสารสนเทศ (Information System)

      เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการกับข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ

   1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
      เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ที่เป็นทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆิ ก็ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ เนื่องจากสามารถทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

   2.ซอฟต์แวร์ (Software)
      เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ภายใต้ขอบเขตของคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมนั้นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

         -ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) 
            เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นการทำงานต่างๆได้

         -ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
            เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Format Factory   Adobe Dreamweaver   Winamp เป็นต้น
         ตัวอย่างซอฟต์แสร์ประยุกต์
   Wimamp

เป็นซอฟต์แวร์ มีเดียร์เพลเยอร์ เขียนโดยนูลซอฟต์ ปัจจุบันเป็นของเอโอแอล
วินแอมป์ออกครั้งแรกโดย จัสติน แฟรงเคิล ในปี 1997


   3.ข้อมูล (Data)
      ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยรวบรวม และป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ

   4.บุคลากร (People)
      จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนา และผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ซึ่งผู้พัฒนาจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ตามความต้องการ

   5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure)
       ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน (User manual) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

    

3.ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

   1.ด้านการศึกษา
      ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ และยังเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

   2.ด้านการจัดเก็บรวบรวใข้อมูล
       ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆ ทั้งหมดไว้และนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา

   3.ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
      การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว

   4.ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
       การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารทั้งสิ้น
 
   5.ด้านความบันเทิง
          รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบเข้ากับการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย


4.แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

   -เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างหันมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
   -มีการใช้ระบบเสมืองจริงผ่านเครือข่านอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม
   -อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
   -การวางแผน การคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ
   -การเข้าถึงข้อมูลที่งาน สะดวก และรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
   -หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง และจะปรับเปลี่ยนลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆ เพิ่มมากขึ้น 


5.ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

   -พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
   -การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะผู้คนลงน้อยลง
   -การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
   -เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผิดกฎหมาย และละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
   -การส่งต่อของข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย อาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
   -เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ 

            

6.อาชีพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

   -นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) มำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามความต้องการ
   -นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   -ผู้ดูแลและบริหารระบบฐานข้อมูล (Database Administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล ดูแลความปลอดภัย ประสานงาน และตรวจสอบการใช้งาน
   -ผู้ดูและบริหารระบบเครือข่าย (Network Administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย และดูแลความปลอดภัยระบบเครือข่าย๓ายในองค์กร
   -เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technician) ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ 

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

aboutme?

name : จันทรัช ทิพรังศรี ม.4/1 เลขที่ 3
nickname : กิ๋ว
bd. : 2 มีนาคม 2541
twitter : @felotwak
color : เหลือง ดำ ขาว
animal : แกะ
anime : Fairy Tall
novel : การิน ภามคนรักจ้างตาย สาปศพนางฟ้า Guardian Corporation
blood : B
I Love FT Island!!